พบปะพูดคุยกันครับ

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

"คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาชุดใหม่" ประกอบด้วย
1.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
2.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน
3.กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 8 คน ได้แก่
-ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
-เลขาธิการ ก.พ.
-เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
-เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
-เลขาธิการคุรุสภา
-เลขาธิการ ก.ค.ศ.
4.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้แก่
-นายกิตติรัตน์ มัลคละคีรี
-นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
-ศ.กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม
-นายสมบัติ สุวรรณพิทักษ์
ภาครัฐ
-นายกิจสุวัฒน์ หงส์เจริญ
-นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ
-นายมนัส แจ่มเวหา
-นายพันธุ์ศักดิ์ โรจนากาศ
-นายอาวุธ วรรณวงศ์
5.กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน ก.ค.ศ. จำนวน 12 คน ได้แก่
-นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้แทน ผอ.สพท.ประถมศึกษา
-นายอานนท์ สุขภาคกิจ ผู้แทน ผอ.สพท.มัธยมศึกษา
-นายบุญฤทธิ์ ไชยบุตร ผู้แทน ผอ.สถานศึกษา ประถมศึกษา
-นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ผู้แทน ผอ.สถานศึกษา มัธยมศึกษา
-นายกิตติศักดิ์ บุญดาว ผู้แทนครู ประถมศึกษา
-นางสุนทรีย์ ทองอินทร์ ผู้แทนครู ประถมศึกษา
-นายออน กาจกระโทก ผู้แทนครู ประถมศึกษา
-นายสงกรานต์ จันทร์น้อย ผู้แทนครู มัธยมศึกษา
-นายพรรษา ฉายกล้า ผู้แทนครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
-นายจิรพจน์ จึงบรรเจิดศักดิ์ ผู้แทนครูสังกัดอื่น (สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม)
-นายชาญ คำภิระแปง ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น สายประถมศึกษา
-นายสุทธิพร ไชยพิเดช ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น สายมัธยมศึกษา
คณะกรรมการทั้ง 31 คนนี้ ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว และจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนับจากนี้ 4 ปี

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง ในประเทศอาเซียน
การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง ถือว่าเป็นการเปิดเสรีด้านการค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยจะเน้นใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก ตามความถนัด เนื่องจากแต่ละประเทศมีวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะให้ผลิตทุกอย่าง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนสินค้าแบบเสียเปล่า
สำหรับ 11 สาขานำร่องมีดังนี้
1. สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร
2. สาขาประมง
3. สาขาผลิตภัณฑ์ยาง
4. สาขาสิ่งทอ
5. สาขายานยนต์
6. สาขาผลิตภัณฑ์ไม้
7. สาขาอิเล็กทรอนิกส์
8. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
9. สาขาสุขภาพ
10. สาขาท่องเที่ยว
11. สาขาการบิน
อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้เพิ่มสาขาที่ 12 ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ทำได้สะดวกมากขึ้น
เมื่อแบ่งทั้ง 12 สาขา ตามประเทศที่รับผิดชอบ สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
2. มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
3. อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
4. ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
5. สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
6. ไทย สาขาการท่องเที่ยวและสาขาการบิน
7. เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์